ก้าวสู่โปรแกรมเมอร์ด้วยภาษาซี ตอนที่ 1 Intro
โดย [ จันตพงษ์ บุตรลักษณ์ ] หมวด [การพัฒนาซอฟต์แวร์]
4 มีนาคม 2556
ภาษาซีเป็นภาษาระดับกลาง (Middle-Language) ที่นำมาเขียนโปรแกรมทั้งบนระบบปฎิบัติการ Linux หรือ UNIX ซึ่งมีความสามารถเหมือนภาษาแอสเซมบลี กล่าวคือ ตัวภาษาเองสามารถเข้าถึงได้ระดับบิต ระดับไบต์ และตำแหน่งของหน่วยความจำของเครื่องได้ ซึ่งเขียนง่ายกว่าภาษาระดับต่ำ(ภาษาที่ใกล้เคียงภาษาเครื่อง) ในสมัยก่อนนั้นได้มีการแบ่งภาษาที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ระดับด้วยกัน คือ
1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง (Machine Language) ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภาษาระดับต่ำสามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง แต่ข้อเสียคือเขียนหรือทำความเข้าใจยาก ไม่เหมาะสำหรับการพัฒนาโปรแกรม
2. ภาษาระดับสูง (High Level Language) สามารถเขียนได้ง่าย ทำความเข้าใจได้ง่าย แต่ความเร็วในการทำงานจะช้ากว่าภาษาระดับต่ำ
ต่อมา เดนนิช ริทชี่ (Dennis Ritchie) ได้นำภาษา B ซึ่ง เคน ทอมสัน (Ken Thomson) เป็นคนพัฒนา มาพัฒนาต่อโดยการรวมเอาข้อดีของภาษาระดับต่ำและระดับสูงเข้าด้วยกัน จึงทำให้เกิดภาษา C ขึ้นมา โดยจัดลำดับให้ใหม่เป็นภาษาระดับกลาง ดังตาราง
LevelLanguage เมื่อเราพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาซี ขั้นตอนที่จะนำโปรแกรมไปรันใช้งานได้นั้น ต้องมีการแปลโปรแกรม(Compiler)ก่อนที่จะรันโปรแกรมได้ ขั้นตอนการแปลโปแกรม(Compiler) มีขั้นตอนดังนี้
Compiler จากรูปข้างต้น ลำดับแรก เป็นนำโปรแกรม(Source File) ที่เขียนขึ้น นำไปให้ตัวตัวแปลภาษา(C Compiler) ทำการแปลให้เป็นภาษาเครื่อง(Object File) หลังจากดำเนินการข้างต้นแล้วเสร็จขั้นตอนต่อไป จะทำการเชื่อมโยงฟังก์ชันต่างๆที่เราได้เรียกใช้ตอนเขียนโปรแกรมเข้ากับไลบรารี่(Library) เพื่อทำให้เป็นไฟล์โปรแกรมที่พร้อมเรียกใช้งาน(Exeuteable File) เมื่อได้ Executeable File แล้วก็สามารถรันโปรแกรมให้ทำงานตามที่ได้เขียนโปรแกรมไว้แล้วได้
หากต้องการศึกษาเพิ่ม ซึ่งผู้เขียนเองได้จัดทำเว็บไซต์ไว้ http://www.i-elec.in.th
Leave a Reply