ก้าวสู่โปรแกรมเมอร์ด้วยภาษาซี ตอนที่ 5 Data Type

ก้าวสู่โปรแกรมเมอร์ด้วยภาษาซี ตอนที่ 5 Data Type
โดย [ จันตพงษ์ บุตรลักษณ์ ] หมวด [การพัฒนาซอฟต์แวร์]
4 มีนาคม 2556

ภาษาซี แบ่งข้อมูลออกมาเป็น 2 ชนิดคือ ข้อมูลที่สามารถนำไปดำเนินการใดๆในการคำนวณได้ และอีกชนิดคือข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณใดๆได้
1. ข้อมูลที่สามารถนำไปดำเนินการใดๆในการคำนวณได้
1.1 ค่าเลขจำนวนเต็ม (Integer Constant) : ค่าคงที่ที่เป็นเลขจำนวนเต็มบวกหรือเต็มลบและไม่มีจุดทศนิยม ตัวอย่างเช่น 480,10,-400 เป็นต้น
1.2 ค่าเลขจำนวนทศนิยม (Floating Point Constant) : ค่าคงที่ที่เป็นตัวเลขที่มีจุดทศนิยมแบบธรรมดาและแบบเคลื่อนที่ได้หรือค่าคงที่ที่อยู่ในรูปแบบ E ยกกำลัง ซึ่งเป็นได้ทั้งบวกและลบ
ตัวอย่างเช่น 12.45,-45.23, 34.55E-45 เป็นต้น
1.3 ค่าเลขฐานแปด (Octal Constant) : ในภาษาซีการเขียนจำนวนที่เป็นเลขฐานแปดสามารถเขียนได้โดยใช้เลขศูนย์( 0 ) นำหน้าค่าเลขฐานแปดนั้นๆ ตัวอย่างเช่น 055 ซึ่งมีค่าเท่ากับ (75)8 เป็นต้น
1.4 ค่าเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) : ในภาษาซีการเขียนจำนวนที่เป็นเลขฐานแปดสามารถเขียนได้โดยใช้เลขศูนย์( 0X ) นำหน้าค่าเลขฐานสิบหกนั้นๆ ตัวอย่างเช่น 0XF0 ซึ่งมีค่าเท่ากับ (F0)16 เป็นต้น
1.5 ค่าเลขของตัวอักขระ (Character Constant) : ค่าที่เป็นตัวเลขหรือตัวอักษร หรืออักขระควบคุมต่างๆ ที่มีขนาด 1 ตัวอักขระ (1 Byte) และเขียนอยู่ในเครื่องหมาย Apostrophe( ‘ ‘ ) เช่น ‘w’,’3′,’ ‘ เป็นต้น ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะเก็บค่าเหล่านี้ไว้ในหน่วยความจำเป็นรหัส ASCII หรือ รหัส EBCDIC ขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ‘A’ มีค่าเป็น (65)10 หรือ (41)16 หรือ (01000001)2 เป็นต้น

2. ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณใดๆได้
หมายถึค่าข้อมูลหรือค่าคงที่ ที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้ อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหายใดๆ ที่มีการเขียนไว้ภายใต้เครื่องหมายคำพูด(Quatation Mark) เรียกค่าแบบนี้ว่า String Constant ยกตัวอย่างเช่น “iELEC”,”i”,” C Programming”,”20″ เป็นต้น

หากต้องการศึกษาเพิ่ม ซึ่งผู้เขียนเองได้จัดทำเว็บไซต์ไว้ http://www.i-elec.in.th